งานทะเบียนคนต่างด้าว

งานทะเบียนคนต่างด้าว

  • ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับปัญหาการทะเบียนคนต่างด้าว
  • พิจารณาเสนอขออนุมัติการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่ผู้ยื่นคำร้องที่อ้างว่าเคยอยู่ในราชอาณาจักรมาก่อน โดยไม่มีหลักฐานการเข้าเมืองหรือด้วยเหตุอื่นใด หรือพิจารณาเสนอขออนุมัติการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่ผู้ที่ได้รับหลักฐานการเข้าเมืองแล้ว แต่มิได้ยื่นคำร้องขอรับใบสำคัญประจำตัวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองหรือวันที่มีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์ ซึ่งนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่เสนอสำนวนการสอบสวนส่งมาให้พิจารณาสั่งการ
  • พิจารณาและสอบสวนคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทั่วราชอาณาจักร
  • เก็บรวบรวม ตรวจสอบ ดำเนินการเกี่ยวกับสำเนาปลายขั้วใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และจัดทำทะเบียนคนต่างด้าวทั่วราชอาณาจักร

การขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญชาติ อาชีพ ชื่อตัว ชื่อรอง ชื่อสกุล หรือรายการต่างๆ ในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

ขั้นตอนการปฏิบัติ
  1. ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการฯ พร้อมเอกสารประกอบที่ใช้เป็นหลักฐานสำหรับกรณีนั้นๆ
  2. ตรวจสอบเอกสารค้นหาปลายขั้วฯ และคัดสำเนาปลายขั้วฯ เพื่่อประกอบการพิจารณา
  3. สอบปากคำคนต่างด้าว
  4. ประมวลเรื่องเสนอ ผบก.ตม.1 เพื่อขออนุมัติเปลี่ยนแปลง แก้ไขรายการฯ ในหลักฐานทะเบียนคนต่างด้าว
  5. เมื่อ ผบก.ตม.1 อนุมัติแล้วเจ้าหน้าที่ทำการแก้ไข พร้อมทั้งหมายเหตุการแก้ไขในปลายขั้วสำเนาฯ และมีหนังสือแจ้งไปยังนายทะเบียนท้องที่ ให้แก้ไขรายการในใบสำคัญประจำตัวให้ถูกต้องตรงกัน

กรณีคนต่างด้าว หรือทายาท ขอขัดปลายขั้วสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว

ขั้นตอนการปฏิบัติ
  1. ยื่นคำร้องขอคัดปลายขั้วสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของตนเองหรือของบิดา,มารดา
  2. ตรวจสอบเอกสาร ค้นหาปลายขั้วสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่ผู้ร้องต้องการคัดสำเนา
  3. สอบปากคำคนต่างด้าว
  4. ประมวลเรื่องเสนอ สว.กก.1.บก.ตม.1 เพื่อขออนุมัติคัดปลายขั้วฯ
  5. เมื่อ สว.กก.1.บก.ตม.1 อนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่ทำการถ่ายสำเนาปลายขั้ว สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมรับรองสำเนาให้ผู้ยื่นคำร้อง

เอกสารประกอบการพิจารณา

เอกสาร
  1. คำร้อง
  2. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมสำเนา
  3. หนังสือสำคัญการเข้าเมือง
    • สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่
    • สำเนาใบสำคัญแสดงรูปพรรณ (ถ้ามี)
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน
  5. สำเนาหนังสือเดินทาง (ถ้ามี)
  6. หนังสือรับรองการได้สัญชาติของประเทศนั้นๆ (ในกรณีของการแก้ไขสัญชาติ)
  7. สำเนาสูติบัตร, สำเนาใบสำคัญ(แบบ สด.9) หรือ อื่นๆ หากมี (กรณีขอเพิ่มชื่อและชื่อสกุลรอง)
  8. สำเนาใบอนุญาติทำงาน (ถ้ามี)
  9. บันทึกคำให้การ
  10. รูปถ่ายปัจจุบัน ขนาด 4×6 ซม.จำนวน 2 รูป

หลักเกณฑ์ในการยื่นคำขอและการพิจารณาอนุมัติ

  1. การตรวจสอบและแก้ไขเพิ่มเติมรายการในหลักฐานทะเบียนคนต่างด้าว จะดำเนินการในกรณีพบว่าข้อมูลในหลักฐานทะเบียนคนต่างด้าวไม่ถูกต้องตรงกัน
  2. คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องขอแก้ไขด้วยตนเอง

สถานที่ และระยะเวลาการให้บริการ

  • กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี (ทิศใต้)
  • เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ (เวันวันหยุดราชการ) ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 น.(มีพักเที่ยง 12:00 – 13:00 น.)

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว (พ.ศ.2493) มาตรา 13
  • ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 55 บทที่ 4
  • กฎกระทรวง (พ.ศ.2493) ลง 12 ธันวาคม 2493 ข้อ 7
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2529) ลง 18 กุมภาพันธ์ 2529 ข้อ 3

เอกสารประกอบ

  • เอกสารต้นเรื่อง
  • รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรงไม่สวมหมวก ขนาด 4X6 ซม. จำนวน 4 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 30 วัน
  • คำร้อง ทต.7

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

  • ตรวจสอบหลักฐาน เทียบรูปถ่ายในเอกสารเดิมกับตัวบุคคล ตรวจสอบรายการต่ออายุครั้งสุดท้าย
  • คัดลอกข้อความจากต้นขั้วสำเนาลงในใบสำคัญ
  • ติดรูปถ่ายในคำร้อง, ต้นขั้ว ใบสำคัญ, แห่งละ 1 รูป ส่วนรูปที่เหลือให้ส่งไปยัง งาน 4 กก.1 ตม.1 เพื่อปิดในปลายขั้วฯ
  • บันทึกในหน้าว่างข้างหน้า 1 ด้วยหมึกสีแดงว่า “ออกใบสำคัญประจำตัวแทนฉบับเดิมที่ชำรุดหรือสูญหาย และได้เก็บค่าธรรมเนียมไว้ตามใบเสร็จรับเงิน เล่มที่… เลขที่… ลง…” แล้วนายทะเบียนลงนาม

ข้อควรระวัง

  1. กรณีไม่มีเอกสารต้นเรื่องอยู่ที่นายทะเบียนท้องที่ปัจจุบันให้ติดต่อขอหลักฐานจากนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่เดิมก่อนที่จะย้ายมา หากไล่เบี้ยจนถึงที่สุดแล้วไม่พบเอกสารต้นเรื่องให้เสนอ งาน 4 กก.1 ตม.1 พิจารณาก่อน ห้ามเปลี่ยนใบสำคัญประจำตัวทั้ง ๆ ที่ไม่มีเอกสารต้นเรื่องก่อนได้รับอนุญาตจาก ผบก.ตม.1 เป็นอันขาด
  2. กรณีใบสำคัญชำรุด ให้หมายความรวมถึงกรณีช่องติดรูปถ่ายครบทุกช่องแล้ว รายการเลอะเลือนเพราะเปียกน้ำหรือกรณีอื่นใด และรวมทั้งใบสำคัญขาดหายไปในส่วนที่เป็นสาระสำคัญด้วย
  3. ในกรณีใบสำคัญชำรุดขาดหายไปเหลือเพียงบางส่วนก็ต้องส่งไปเท่าที่มีพร้อมรูปถ่ายปัจจุบัน ให้แจ้งเลขที่ใบเสร็จรับเงิน วันเดือนปี ที่ชำระค่าธรรมเนียมให้ทราบด้วย

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว (พ.ศ.2493) มาตรา 10, 11, 13
  • พ.ร.บ.ทะเบียนคนต่างด้าว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2495) มาตรา 4
  • ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 55 บทที่ 13
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2498) ข้อ 1
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2529) ข้อ 1-4

เอกสารประกอบ

  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  • เอกสารต้นเรื่อง
  • ใบเสร็จรับเงิน
  • คำร้อง ทต.8

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

  • ตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมในปีที่ล่วงมาแล้ว
  • บันทึกการรับเงินในคำร้อง, ต้นขั้ว, และใบสำคัญตามแบบที่ทางราชการกำหนด
  • ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมฉบับสีฟ้าส่งมอบให้คนต่างด้าวเก็บรักษาไว้ สีชมพูส่งไปงาน 4 กก.1 ตม.1 ส่วนสีขาวเป็นฉบับสำเนาติดไว้กับเล่มใบเสร็จรับเงิน
  • นำเงินค่าธรรมเนียมส่งหน่วยงานการเงินตามระเบียบ

ข้อควรระวัง

  1. เมื่อใบสำคัญประจำตัวฯ หมดอายุ ให้ยื่นคำร้องขอต่ออายุภายใน 7 วัน นับแต่วันที่หมดอายุภายใน 7 วัน นับแต่วันที่หมดอายุ หากเลขกำหนดจะต้องเสียค่าปรับ
  2. การชำระค่าปรับนั้น ให้ปรับตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2495) มาตรา 4 และให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการขาดต่ออายุตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2498) ข้อ 10 ก. จากนั้นจึงเก็บค่าธรรมเนียมย้อนหลังสำหรับปีที่ขาดต่อให้ครบถ้วนก่อนที่จะดำเนินการต่ออายุใบสำคัญฯ ให้ต่อไป

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว (พ.ศ.2493) มาตรา 12
  • พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2497) มาตรา 3
  • ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 55 บทที่ 5
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2497)

เอกสารประกอบ

  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  • เอกสารต้นเรื่อง
  • แบบคำร้องแจ้งย้ายภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ชั่วคราว

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

  • รับคำร้อง ตรวจสอบหลักฐานทะเบียนบ้านและหลักฐานต้นเรื่อง
  • หมายเหตุในใบสำคัญ และต้นขั้วฯ หรือเอกสารต้นเรื่องแล้วแต่กรณี
  • ส่งเอกสารต้นเรื่องเดิมทั้งหมด (ยกเว้นเฉพาะต้นขั้วใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ถ่ายสำเนา หรือคัดสำเนาจากต้นขั้วฯ พร้อมทั้งรับรองสำเนา ส่วนตันขั้วฯ ยังคงเก็บไว้ที่ท้องที่เดิม) ไปยังนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ที่คนต่างด้าวจะย้ายไปอยู่ภายในกำหนด 15 วัน
  • แจ้งให้ งาน 4 กก.1 ตม.1 ทราบเพื่อหมายเหตุในปลายขั้ว ให้ตรงกัน

ข้อควรระวัง

นายทะเบียนท้องที่เดิมมักแจ้งเลขทะเบียน วันเดือนปี ที่ออกใบสำคัญ และสถานที่ออกใบสำคัญผิดพลาดคลาดเคลื่อน ดังนั้น ควรตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนก่อนแจ้งข้อมูลทุกครั้ง แนะนำให้คนต่างด้าวไปแจ้งการย้ายต่อเจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์เพื่อให้ภูมิลำเนาที่แท้จริงกับภูมิลำเนาในใบสำคัญตรงกัน กรณีแจ้งย้ายภูมิลำเนาของบุคคลต่างด้าวนั้นควรถ่ายสำเนาต้นขั้วฯ ของคนต่างด้าวผู้นั้นแนบติดมาพร้อมหนังสือนำส่งด้วย

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว (พ.ศ.2493) มาตรา 12 วรรค 3 มาตรา 18 วรรคท้าย และมาตรา 22
  • ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 55 บทที่ 7

เอกสารประกอบ

  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนา ปจว. แจ้งความกรณีใบสำคัญสูญหาย
  • บันทึกปากคำญาติสนิทของผู้ถึงแก่กรรม

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

  • เจ้าบ้านที่คนต่างด้าวตาย ต้องแจ้งการตายต่อนายทะเบียนคนต่างด้าวภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย พร้อมหลักฐานใบมรณะบัตร และส่งคืนใบสำคัญประจำตัวฯ ด้วย
  • บันทึกการถึงแก่กรรมในเอกสารต้นเรื่อง
  • บันทึกการถึงแก่กรรมในใบสำคัญประจำตัว
  • แจ้ง งาน 4 กก.1 ตม.1 ทราบ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญฯ พร้อมส่งใบสำคัญประจำตัว และสำเนามรณะบัตร
  • กรณีใบสำคัญประจำตัวสูญหาย ให้ส่งสำเนา ปจว. ที่แจ้งความหาย พร้อมสอบสวนบันทึกปากคำญาติสนิทของผู้ถึงแก่กรรมโดยละเอียด แจ้งส่งสำนวนการสอบสวนไปยัง งาน 4 กก.1 ตม.1

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามมิให้ญาติของผู้ถึงแก่กรรมแกะรูปถ่ายออกจากใบสำคัญประจำตัวโดยเด็ดขาด
  2. การแก้ไขให้คงรายการเดิมไว้ โดยขีดฆ่าข้อความเดิมแล้วเขียนข้อความใหม่ที่ได้รับอนุมัติให้แก้ไขไว้ในช่องรายการ
  3. หากไม่มีเอกสารต้นเรื่อง ต้องติดต่อนายทะเบียนท้องที่เดิมก่อน
  4. บันทึกการแก้ไขโดยละเอียดในหน้าที่ว่างและลงเลขที่หนังสือของ งาน 4ฯ ด้วย สำหรับอ้างอิงในภายหลัง

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว (พ.ศ.2493) มาตรา 14
  • ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 55 บทที่ 8
  • หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท 0313/ว. 919 ลง 3 พฤศจิกายน 2518

เอกสารประกอบ

  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  • เอกสารต้นเรื่อง
  • หนังสือแจ้งจาก งาน 4 กก.1 ตม.
  • แบบคำร้องทั่วไป

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

  • กรณีคนต่างด้าวยื่นคำร้องขอแก้ไขที่นายทะเบียนท้องที่
    • คนต่างด้าวยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการโดยมีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมรายการมาแสดง
    • ตรวจสอบหลักฐาน และเอกสารต้นเรื่อง รวมทั้งใบสำคัญประจำตัว
    • สอบสวนปากคำผู้ร้องโดยละเอียด แล้วเสนอไปยัง งาน 4 กก.1 ตม.1 เพื่อพิจารณายกเว้นรายการแก้ไขอาชีพ ซึ่งนายทะเบียนสามารถอนุมัติให้แก้ไขตามความเป็นจริง
    • เมื่อได้รับอนุมัติจาก ผบก.ตม.1 แล้ว งาน 4 กก.1 ตม.1 จะแจ้งให้นายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ดำเนินการแก้ไขในเอกสารต้นเรื่องและใบสำคัญประจำตัวให้ตรงกัน
    • งาน 4 กก.1 ตม.1 จะแก้ไขในเอกสารปลายขั้วให้ตรงกันกับเอกสารของนายทะเบียนต่อไป
  • กรณีคนต่างด้าวยื่นคำร้องที่ งาน 4 กก.1 ตม.1
    • ตรวจสอบหลักฐานตามที่ผู้ร้องนำมาแสดงร่วมกับปลายขั้ว และใบสำคัญประจำตัว
    • สอบสวนปากคำคนต่างด้าวโดยละเอียด
    • เสนอสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นไปยัง ผบก.ตม.1 เพื่อพิจารณาสั่งการ
    • ดำเนินการเหมือน ข้อ 3.1.4-3.1.5

ข้อควรระวัง

  1. นายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่ มีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เฉพาะกรณีเปลี่ยนแปลงอาชีพเท่านั้น
  2. การแก้ไขให้คงรายการเดิมไว้ โดยขีดฆ่าข้อความเดิมแล้วเขียนข้อความใหม่ที่ได้รับอนุมัติให้แก้ไข ไว้ในช่องรายการเเดิม
  3. เขียนด้วยตัวบรรจง อ่านง่าย และเขียนให้ครบทุกรายการ รวมทั้งนายทะเบียนลงนามย่อ กำกับทุกรายการที่แก้ไข
  4. บันทึกการแก้ไขโดยละเอียดในหน้าว่างและลงเลขที่หนังสือของ งาน 4ฯ ด้วย สำหรับอ้างอิงในภายหลัง

ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว (พ.ศ.2493) มาตรา 6, 9
  • ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะที่ 55 บทที่ 1, 4

เอกสารประกอบ

  • ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
  • รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 4X6 ซม. จำนวน 2 รูป ถ่ายไว้ไม่เกิน 30 วัน
  • เอกสารติดต่อกับนายทะเบียนท้องที่เดิม

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

  • ตรวจเทียบรูปถ่ายและรายการในใบสำคัญฯ กับเอกสารต้นเรื่องและหรือปลายขั้ว
  • ตรวจสอบเอกสารการติดต่อกับนายทะเบียนท้องที่เดิมว่าได้มีการไล่เบี้ยจนครบทุกท้องที่ที่คนต่างด้าวเคยมีภูมิลำเนามาก่อนแล้วหรือไม่
  • ส่งใบสำคัญฯ พร้อมเอกสารการติดต่อไปยัง งาน 4 กก.1 ตม.1 เพื่อพิจารณา
  • เก็บสำเนาปลายขั้วฯ ที่ งาน 4ฯ คัดส่งมาให้เป็นเอกสารต้นเรื่องต่อไป

ข้อควรระวัง

  • ดำเนินการเช่นเดียวกับกรณีการออกใบแทนใบสำคัญกรณีชำรุด สูญหาย กล่าวคือต้องตรวจสอบต้นเรื่อง จากนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่เดิมก่อนเสมอ

ข้อพึงปฏิบัติ

  1. คนต่างด้าวไปขอรับใบสำคัญประจำตัวฯ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมือง หรือวันที่มีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์
  2. คนต่างด้าวที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงสัญชาติ ชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องแจ้งนายทะเบียนฯ ภายใน 7 วัน
  3. คนต่างด้าวตาย เจ้าบ้านต้องแจ้งนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
  4. ใบสำคัญประจำตัวหมดอายุต้องติดต่อนายทะเบียนภายใน 7 วัน
  5. ต้องพกพาใบสำคัญประจำตัวฯ ติดตัวเสมอ
  6. ย้ายภูมิลำเนาต้องแจ้งภายใน 30 วัน
  7. ใบสำคัญประจำตัวชำรุดหรือสูญหายให้ไปขอรับใบแทนภายใน 7 วัน

โทษ

  1. ไม่ปฏิบัติตามข้อ 1, 4 ปรับไม่เกิน 500.- บาท
  2. ไม่ปฏิบัติตามข้อ 2, 3, 4 , 5 – 7 ปรับไม่เกิน 1,000.- บาท
  1. งานกำหนดแนวทางและตอบข้อหารือการปฏิบัติงานการทะเบียนคนต่างด้าว
  2. งานพิจารณาและสอบสวนคำร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทั่วราชอาณาจักร
  3. งานดำเนินการเกี่ยวกับสำเนาปลายขั้วใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และจัดทำทะเบียนคนต่างด้าวทั่วราชอาณาจักร
  4. งานอื่นที่ได้รับมอบหมายตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง ของผู้บังคับบัญชา ลักษณะของงาน 4 (ทะเบียนคนต่างด้าว) เดิมกำหนดให้เป็นฝ่ายเทียบเท่ากองกำกับการ สังกัดกองตรวจคนเข้าเมือง และเมื่อมีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่จัดตั้งใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2536 ฝ่ายทะเบียนคนต่างด้าวจึงถูกกำหนดโครงสร้างใหม่ลดฐานะเป็นงานโดยมีหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับปัญหาการทะเบียนคนต่างด้าว การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวทั่วราชอาณาจักร พิจารณาเสนอขออนุมัติการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่ผู้ยื่นคำร้องที่อ้างว่าเคยอยู่ในราชอาณาจักรมาก่อนโดยไม่มีหลักฐานการเข้าเมืองหรือด้วยเหตุอื่นใด หรือพิจารณาเสนอขออนุมัติการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่ผู้ที่ได้รับหลักฐานการเข้าเมืองแล้ว แต่มิได้ยื่นคำร้องขอรับใบสำคัญประจำตัวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองหรือวันที่มีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์ ซึ่งนายทะเบียนคนต่างด้าวท้องที่เสนอสำนวนการสอบสวนส่งมาให้พิจารณาสั่งการ และรวมถึงการเก็บรวบรวม ตรวจสอบ และดำเนินการเกี่ยวกับสำเนาปลายขั้วใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ดังนั้น งาน 4 (ทะเบียนคนต่างด้าว) กองกำกับการ 1 กองตรวจคนเข้าเมือง 1 จึงมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบครอบคลุมเช่นเดียวกับลักษณะงาน ดังเช่นที่เคยกำหนดให้เป็นฝ่ายทะเบียนคนต่างด้าวเดิม