สำหรับต่างชาติทั่วไป

กรณีมีเหตุจำเป็นทางธุรกิจ เช่น จะต้องอยู่ปฏิบัติงานในบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนเป็นต้น

 

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. คนต่างด้าวต้องมีเงินได้ตามตารางเงินได้แนบท้ายคำสั่งนี้ (ผนวก ก)
  3. ต้องเป็นธุรกิจซึ่งมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
  4. ธุรกิจนั้นต้องยื่นงบการเงิน ณ วันสิ้นงวดสองปีบัญชีที่ผ่านมา ที่ได้รับการตรวจรับรองความถูกต้องจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากรแล้แต่กรณีเพื่อแสดงว่าธุรกิจมีความมั่นคงเชื่อถือได้ มีการประกอบการจริงและมีความต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากแนวทางพิจารณาสถานภาพธุรกิจว่ามีการประกอบการจริงและมีความ ต่อเนื่องแนบท้ายคำสั่งนี้ (ผนวก ข)
  5. ธุรกิจนั้นมีความจำเป็นจะต้องว่าจ้างคนต่างด้าวทำงาน
  6. ธุรกิจนั้นต้องมีอัตราส่วนระหว่างจำนวนคนต่างด้าวกับพนักงานคนไทยประจำ ในอัตราส่วนคนต่างด้าว 1 คนต่อพนักงานคนไทยประจำ 4 คน
  7. ธุรกิจประเภทดังต่อไปนี้ ให้ได้รับการยกเว้นหลักเกณฑ์ตามข้อ (3) (4) และ (5)และให้ได้รับการผ่อนผันในเรื่องอัตราส่วนคนไทยตามหลักเกณฑ์ข้อ (6) โดยให้มีพนักงานคนไทยในอัตราส่วนคนต่างด้าว 1 คน ต่อพนักงานคนไทยประจำ 1 คน
    (ก) ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (สำนักงานผู้แทน)
    (ข) สำนักงานภูมิภาค
    (ค) บริษัทข้ามชาติ (สำนักงานสาขา)

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7 (ติดรูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม จำนวน 1 รูป, ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท)
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ (หน้าที่มีรูปถ่าย, วีซ่า, ตราเดินทางเข้าครั้งสุดท้าย, บัตรขาออก (ตม.6), ตรา RE-Entry Permit, ตราประทับการอนุญาตให้อยู่ต่อครั้งสุดท้าย และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน (ทุกหน้าที่มีข้อมูลปรากฎ และคนต่างด้าวลงลายมือชื่อรับรองทุกแผ่น)
  4. กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานครอบครัว ได้แก่ ทะเบียนสมรส ใบเกิดบุตร หากออกโดยรัฐบาลในต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ
  5. หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (แบบ สตม.1)
  6. หนังสือรับทราบแนวทางปฏิบัติการห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร
  7. หนังสือชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการจ้างคนต่างด้าว
  8. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของ สตม. กำหนด (แบบ สตม.2)
  9. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
  10. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทั้งหมด ฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน ต้องผ่านการรับรองจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  11. สำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาใบอนุญาตทำงานของกรรมการบริษัท
  12. หนังสือมอบอำนาจ(ติดอากรแสตมป์เรียบร้อย) พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบ
  13. สำเนาแบบนำส่งงบการเงิน (ส.บช.3) , งบดุลและงบกำไรขาดทุน พร้อมแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ภงด.50) ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  14. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ที่มีชื่อพนักงานไทยและชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ 3 เดือนล่าสุดพร้อมใบเสร็จรับเงิน ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร
  15. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) ของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร
  16. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม (สปส.1-10) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน โดยให้กรรมการบริษัทลงนามและประทับตราบริษัท
  17. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) 3 เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน ต้องผ่านการรับรองความถูกต้องจากสรรพากร
  18. สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
  19. แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
  20. รูปถ่ายสถานประกอบการ
    – ภายนอกอาคาร ให้ปรากฏเลขที่ตั้ง และป้ายชื่อสถานประกอบการให้ชัดเจน
    – ภายในอาคาร ให้ปรากฏภาพคนต่างด้าวผู้ยื่น พร้อมด้วยคณะกรรมการบริษัท และพนักงานคนไทยขณะปฏิบัติงานอยู่

 หมายเหตุเอกสารนอกเหนือจากการรับรองโดยหน่วยงานของรัฐ ให้กรรมการผู้มีอำนาจตามหนังสือรับรองจดทะเบียนกำหนดไว้เป็นผู้ลงนามรับรองเอกสารและประทับตราบริษัททุกแผ่น

กรณีมีเหตุจำเป็น จะต้องอยู่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์การพิจารณา
1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
2. ได้รับการรับรองและร้องขอจากกระทรวง ทบวง กรมที่เกี่ยวข้อง

เอกสารประกอบที่ต้องใช้
1. แบบคำขอ ตม.7
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
4. หนังสือรับรองและร้องขอจากกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง

กรณีมีเหตุจำเป็นจะต้องอยู่ปฏิบัติงานในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

หลักเกณฑ์การพิจารณา
     1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
2.ได้รับการรับรองและร้องขอจากหน่วยงาน หรือองค์กรนั้น ๆ

เอกสารประกอบที่ต้องใช้
1.แบบคำขอ ตม.7
2.สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
3.สำเนาใบอนุญาตทำงาน
4.หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง
5.หลักฐานแสดงความเป็นหน่วยงานของรัฐ (ถ้ามี)

กรณีเพื่อการท่องเที่ยว

หลักเกณฑ์การพิจารณา
1.คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทนักท่องเที่ยว
2.ไม่เป็นบุคคลสัญชาติ หรือจำ พวกที่ คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการ
ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด
(กรณีเป็นบุคคลสัญชาติศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อิหร่าน เนปาล โตโก ไนจีเรียและยูกันดา จะได้รับให้อยู่ในราขอาณาจักรได้ไม่เกิน 7 วัน)

เอกสารประกอบที่ต้องใช้
1.แบบคำขอ ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า , ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. (ที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
4.ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท

เอกสารเฉพาะกรณี

กรณีเจ็บป่วย
1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้
– เจ็บป่วยเป็นโรค หรืออะไร
– เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลหรือไม่ อย่างไร
– ต้องรักษาตัว หรือไม่สามารถเดินทางไกล นานเท่าใดแต่เมื่อใด เป็นต้นไป

กรณีดูแลผู้ป่วย
1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หนังสือรับรองจากโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย โดยระบุความสัมพันธ์กับผู้ป่วย หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์กับผู้ป่วยจากสถานทูต หรือสถานกงสุล

กรณีเพื่อเยี่ยมญาติหรือกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมีสัญชาติไทยหรือของผู้ที่มีบิดาหรือมารดา เป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือเคยมีสัญชาติไทย
1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หลักฐานแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดามีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย

กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรส หรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย
1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หลักฐานแสดงความสัมพันธ์
(กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย)
3.1 สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส หรือบุตร
3.2 สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
3.3 สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตรของบุตร

กรณีเพื่อการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี
1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยเป็นผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์จำเลย หรือพยาน

กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานฑูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศ
1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หนังสือรับรองหรือร้องขอ จากส่วนราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า หรือหัวหน้า
4.รัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับกองบังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือจากส่วนราชการทหารระดับผู้บังคับหน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ซึ่งมีชั้นยศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรีขึ้นไป ในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือจากองค์การระหว่างประเทศ

กรณีมีเหตุจำเป็นโดยมีสถานฑูต หรือสถานกงสุล รับรองและร้องขอ
1.แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
2.สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
3.หนังสือรับรอง หรือร้องขอ จากสถานฑูต หรือสถานกงสุล

กรณีเพื่อการลงทุน

หลักเกณฑ์การพิจารณา
กรณีเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
2. เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2549 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทต่อเนื่องตลอดมา
3. มีหลักฐานการโอนเงินเข้าสู่ประเทศไทย จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
4. มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อห้องชุดใน อาคารชุดจากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่ เกี่ยวข้องในราคาซื้อไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทหรือ
5. มีหลักฐานการลงทุนโดยการฝากเงิน ประจำกับธนาคารที่จดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติไทยเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท หรือ
6. มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อพันธบัตร ของทางราชการหรือของรัฐวิสาหกิจไม่น้อย กว่า 3 ล้านบาท หรือ
7. มีหลักฐานการลงทุนรวมกันตาม (4), (5) หรือ (2) ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท

กรณีเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
2. มีหลักฐานการโอนเงินเข้าสู่ประเทศไทย จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
3. มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อหรือเช่า ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี ห้องชุดในอาคารชุด จากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องใน ราคาซื้อหรือเช่าไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หรือ
4. มีหลักฐานการลงทุนโดยการฝากเงินประจำ กับธนาคารที่จดทะเบียนในประเทศไทยซึ่งมี ผู้ถือหุ้นเป็นคนสัญชาติไทยเกินกว่าร้อยละ 50 ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท หรือ
5. มีหลักฐานการลงทุนโดยการซื้อพันธบัตร ของทางราชการหรือของรัฐวิสาหกิจไม่น้อย กว่า 10 ล้านบาท หรือ
6. มีหลักฐานการลงทุนรวมกันตาม (3), (4) หรือ (5) ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

เอกสารประกอบที่ต้องใช้
การลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
1. แบบคำขอ ตม.7
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
3. สำเนาหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศเข้าสู่ ประเทศไทยจากธนาคาร
4. สำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุด และสำเนา การจดทะเบียนแสดงการเป็นเจ้าของห้องชุดจากส่วน ราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณีซื้อห้อง ชุด) หรือ
5. หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารและสำเนา หลักฐานการฝากเงิน (เฉพาะกรณีลงทุนโดยการฝากเงิน)> หรือ
6. สำเนาพันธบัตร (เฉพาะกรณีลงทุนซื้อพันธบัตร ของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ)

การลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
1. แบบคำขอ ตม.7
2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
3. สำเนาหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศ เข้าสู่ประเทศไทยจากธนาคาร
4. สำเนาสัญญาซื้อขายห้องชุด และสำเนา การจดทะเบียนแสดงการเป็นเจ้าของห้องชุด จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณีซื้อห้องชุด) หรือสำเนาสัญญาเช่า ระยะยาว หรือ
5. หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารและ สำเนาหลักฐานการฝากเงิน(เฉพาะกรณีลงทุน โดยการฝากเงิน) หรือ
6. สำเนาพันธบัตร (เฉพาะกรณีลงทุนซื้อ พันธบัตรของทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจ)

กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือ ผู้เชี่ยวชาญในสถานศึกษาของรัฐ

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองและร้องขอจาก สถานศึกษานั้น

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. หนังสือรับรองและร้องขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง
  5. สำเนาใบประกอบวิชาชีพครู หรือสำเนา หนังสือรับรองสิทธิจากคุรุสภา หรือสำเนา หนังสือผ่อนผันจากคุรุสภา หรือสำเนาหนังสือ รับคำขออนุญาตผ่อนผันจากคุรุสภา
    (ยกเว้นครู หรืออาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ ในระดับ อุดมศึกษา)

กรณีเป็นครู หรืออาจารย์หรือ ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาของเอกชน

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  3. ได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานศึกษานั้น
  4. กรณีบุคลากรทางการศึกษา ต้องมีคุณวุฒิหรือประสบการณ์ตรงกับหน้าที่ปฏิบัติและมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนครูหรืออาจารย์ของสถานศึกษานั้น

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

กรณีโรงเรียนในระบบ ได้แก่ โรงเรียน สามัญศึกษา English Program โรงเรียน อาชีวศึกษาที่ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนนานาชาติ

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  5. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง และสำเนา หนังสือแต่งตั้งครูตามแบบที่ สช. กำหนด
  6. สำเนาใบประกอบวิชาชีพครู หรือสำเนา หนังสือรับรองสิทธิจากคุรุสภา หรือสำเนา หนังสือผ่อนผันจากคุรุสภา หรือสำเนาหนังสือ รับคำขออนุญาตผ่อนผันจากคุรุสภา

กรณีโรงเรียนนอกระบบ

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  5. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้น โดยระบุตำแหน่ง อัตรา เงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง
  6. สำเนาหนังสือแต่งตั้งครู/ผู้สอน ตามแบบที่ สช.กำหนด

กรณีสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  5. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก อธิการบดีของสถาบันการศึกษา โดยระบุ ตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และระยะเวลาการจ้าง

กรณีเป็นบุคลากรทางการศึกษา

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. สำเนาคุณวุฒิการศึกษา
  5. สำเนาใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ที่แสดงถึงความรู้ตามตำแหน่งหน้าที่หรือหนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานที่แสดงถึงความรู้ความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอเดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  7. หนังสือรับรองคนต่างด้าวที่แสดงถึงเหตุผลความจำเป็นในการที่จะต้องขออยู่ต่อในราชอาณาจักรจากสถานศึกษา
  8. รายละเอียดจำนวนครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาสัญชาติไทยและคนต่างด้าว
  9. สัญญาจ้าง
  10. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้งสถานศึกษา
  11. หนังสือรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.)

กรณีเพื่อศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานศึกษานั้น

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ

กรณีเพื่อศึกษาในสถานศึกษาของ เอกชน

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  3. ได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานศึกษานั้น
  4. ได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ และกรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  4. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนปีการศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ
  5. หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับ กรมหรือเทียบเท่าหรือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ รับผิดชอบสถานศึกษานั้น
    (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติและ กรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)

กรณีเพื่อฝึกสอน หรือค้นคว้าวิจัยใน สถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองและร้องขอจากคณบดี สถาบันอุดมศึกษา หรือจากหัวหน้าสถาบันวิจัยนั้น ๆ
  3. กรณีฝึกสอน หรือค้นคว้าวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัยของเอกชน
    ต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากส่วน ราชการที่เกี่ยวข้อง

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก คณบดีสถาบันอุดมศึกษา หรือจากหัวหน้า สถาบันวิจัยนั้น ๆ
  4. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (3) ให้แนบ หนังสือรับรองและร้องขอให้อยู่ต่อจาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

กรณีเป็นครอบครัวของคนต่างด้าวที่ ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการ ชั่วคราวเพื่อศึกษาในสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ข้อ 2.8 หรือ 2.9 ของคำสั่งนี้ (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญ ธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
  3. กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทาง นิตินัยและพฤตินัย หรือ
  4. กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในอุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้นและต้อง มีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ หรือ
  5. กรณีบิดาหรือมารดา ต้องมีเงินฝากใน ธนาคารในประเทศไทยในนามบิดาหรือ มารดาคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง
    3 เดือน ไม่น้อยกว่า 500,000 บาท เฉพาะใน ปีแรกให้แสดงบัญชีเงินฝาก โดยมีเงินจำนวน ดังกล่าว ฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า
    30 วัน ณ วันที่ยื่นขอตามเหตุผลนี้

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่ ได้รับอนุญาตให้อยู่เพื่อศึกษา
  4. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐาน การจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน
    หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือ หลักฐานอื่น จากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง

กรณีปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองและร้องขอจากกรม ประชาสัมพันธ์ หรือกรมสารนิเทศ กระทรวง การต่างประเทศ

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก กรมประชาสัมพันธ์ หรือกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

กรณีศึกษาพระพุทธศาสนา หรือ ปฏิบัติศาสนกิจ

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองจากสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หรือมหามกุฎราชวิทยาลัย
  3. ได้รับการรับรองจากเจ้าอาวาสวัดที่ผู้ยื่น คำขอกำลังศึกษาหรือปฏิบัติศาสนกิจ

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองจากสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ
    มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือมหามกุฏราชวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาของสงฆ์อื่น ๆ
  4. หนังสือรับรองจากเจ้าอาวาสวัดที่ผู้ยื่นคำขอกำลังศึกษาหรือปฏิบัติศาสนกิจ

กรณีเผยแพร่ศาสนา

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองจากกรมการศาสนา หรือสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  3. ได้รับการรับรองและร้องขอจากองค์กรศาสนาที่ผู้ยื่นคำขอเข้ามาประจำอยู่

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองจากกรมการศาสนา หรือ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
  4. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กรศาสนานั้นๆ

กรณีเป็นช่างฝีมือ หรือเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์การพยาบาล หรือ สาขาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้ กับคนไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองและร้องขอจากองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรณีเพื่อติดตั้ง หรือซ่อมแซม เครื่องจักร อากาศยาน หรือเรือเดินทะเล

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองและร้องขอจากองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กรณีเป็น นักแสดง นักร้อง นักดนตรี ประจำโรงแรม หรือประจำบริษัทที่ประกอบ ธุรกิจบันเทิงในประเทศไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองการจ้างจากโรงแรม หรือจากบริษัทที่ประกอบธุรกิจบันเทิงในประเทศ ไทยซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างผู้ยื่นคำขอทำงาน เป็นนักแสดง นักร้อง หรือนักดนตรี
  5. สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฉบับ นายทะเบียนรับรอง ไม่เกิน 6 เดือน
  6. เฉพาะกรณีบริษัทที่ประกอบธุรกิจบันเทิง ฯ ให้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับนาย ทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน
  7. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอเดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  8. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
กรณีเยี่ยมคู่สมรส/เยี่ยมบุตรไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณาและรายการเอกสารประกอบขออยู่ต่อ กรณีเยี่ยมคู่สมรส/เยี่ยมบุตรไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว

2) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์

3) มีหลักฐานแสดงการมีสัญชาติไทยของคู่สมรส/บุตรไทย

4) กรณีคู่สมรสต้องมีความสมัพันธ์กันทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย

รายการเอกสารประกอบ

1)  แบบคําขอ (ตม.7) พร้อมติดรูปถ่ายจํานวน 1 รูป

2)  สําเนาหนังสือเดินทางให้ปรากฏหน้าที่มีรูปถ่าย, หน้าวีซ่า NON-O แรกที่ยื่นขออยู่ต่อ, หน้าตราประทับขออยู่ต่อล่าสดุ, หน้ารอยตราประทับขาเข้าล่าสุด และบัตรขาออก (ตม.6) สําเนาหลักฐานการแจ้งที่พักอาศัยตาม ม.38 และสําเนาใบนัดรายงานตัว 90 วัน

3)  หลักฐานแสดงความสัมพันธ์

3.1 กรณีเยี่ยมคู่สมรส
– สําเนาใบสําคัญการสมรส (คร.3) และ สําเนาทะเบียนสมรส (คร.2)

กรณีจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ
– สําเนาทะเบียนสมรสจะต้องได้รับการรับรองจากสถานทูต และกรมการกงสุลในประเทศไทย

3.2 กรณีเยี่ยมบุตรไทย
– สําเนาใบเกิด และสําเนาทะเบียนบ้านของบุตรสัญชาติไทย

4) สําเนาบัตรประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้าน (ของคู่สมรส) กรณีบิดาหรือมารดาของภรรยาเป็นคนต่างด้าวให้แสดงสูติบัตรภรรยา, หลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีสัญชาติไทยจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สําเนาเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล ฯลฯ

5) เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องเช่นกรณีที่พักอาศัยไม่ตรงตามทะเบียนบ้านให้แสดงหลักฐานสัญญาเช่าฯ หรือหนังสือรับรองจากเจ้าบ้านพร้อมแนบสําเนาบัตรประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่เช่าหรือสําเนาแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้านพร้อมสําเนาบัตรประชาชน ฯลฯ

6) ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท

7) หลักฐานอื่น ๆ

หมายเหตุ

1)  ผู้ยื่นคําขอและคู่สมรส ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง เพื่อมาให้ปากคํา
2) ให้นําหลักฐานเอกสารตัวจริงมาแสดงทุกครั้ง และถ่ายเอกสารพร้อมรับรองสําเนาถูกต้องด้วยลายมือชื่อของผู้ยื่นคําขอ

กรณีสามีไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณาและรายการเอกสารประกอบขออยู่ต่อ กรณีสามีไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว

2) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์

3) มีหลักฐานแสดงการมีสัญชาติไทยของสามี

4) คู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย

รายการเอกสารประกอบ

1)  แบบคําขอ (ตม.7) พร้อมติดรูปถ่ายจํานวน 1 รูป

2)  สําเนาหนังสือเดินทางให้ปรากฏหน้าที่มีรูปถ่าย, หน้าวีซ่า NON-O แรกที่ยื่นขออยู่ต่อ, หน้าตราประทับขออยู่ต่อล่าสุด, หน้ารอยตราประทับขาเข้าล่าสุด และบัตรขาออก (ตม.6) สําเนาหลักฐานการแจ้งที่พักอาศัยตาม ม.38 และสําเนาใบนัดรายงานตัว 90 วัน

3) หลักฐานแสดงความสัมพันธ์

3.1 กรณีจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย

– สําเนาใบสําคัญการสมรส (คร.3)

3.2 กรณีจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ

– สําเนาทะเบียนสมรส (คร.2)

– สําเนาทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)

* ถ้าเคยสมรสมาก่อนให้แสดงใบสําคัญการหย่า (คร.7) และทะเบียนหย่า (คร.6)

4) สําเนาบัตรประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้าน(ของสามี)กรณีบิดาหรือมารดาของสามีเป็นคนต่างด้าวให้แสดงสูติบัตรสามี, หลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีสัญชาติไทยจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สําเนาเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล ฯลฯ สําเนาสูติบัตรบุตร และทะเบียนบ้านบุตร

5) เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีที่พักอาศัยไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานสัญญาเช่าฯ หรือหนังสือรับรองจากเจ้าบ้าน พร้อมแนบสําเนาบัตรประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่เช่า หรือสําเนาแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน พร้อมสําเนาบัตรประชาชน ฯลฯ

6) รูปถ่ายครอบครัวอยู่ที่พักอาศัย 4 รูป (หน้าบ้านให้เป็นบ้านเลขที่ 2 รูป, ในบ้าน 2 รูป, แผนที่บ้าน

7) ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท

8) หลักฐานอื่น ๆ

หมายเหตุ

1) ผู้ยื่นคําขอและคู่สมรส ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง เพื่อมาให้ปากคํา
2) ให้นําหลักฐานเอกสารตัวจริงมาแสดงทุกครั้ง และถ่ายเอกสารพร้อมรับรองสําเนาถูกต้องด้วยลายมือชื่อของผู้ยื่นคําขอ

กรณีอุปการะภรรยาไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณาและรายการเอกสารประกอบขออยู่ต่อ กรณีอุการะภรรยาไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

1) คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว

2) มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์

3) มีหลักฐานแสดงการมีสัญชาติไทยของภรรยา

4) คู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย

5) ฝ่ายสามีซึ่งเป็นคนต่างด้าวต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากธนาคารในประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือนไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี

รายการเอกสารประกอบ

1)  แบบคําขอ (ตม.7) พร้อมติดรูปถ่ายจํานวน 1 รูป

2)  สําเนาหนังสือเดินทางให้ปรากฏหน้าที่มีรูปถ่าย, หน้าวีซ่า NON-O แรกที่ยื่นขออยู่ต่อ, หน้าตราประทับขออยู่ต่อล่าสุด, หน้ารอยตราประทับขาเข้าล่าสุด และบัตรขาออก (ตม.6) สําเนาหลักฐานการแจ้งที่พักอาศัยตาม ม.38 และสําเนาใบนัดรายงานตัว 90 วัน

3) หลักฐานแสดงความสัมพันธ์

3.1 กรณีจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย

– สําเนาใบสําคัญการสมรส (คร.3)

– สําเนาทะเบียนสมรส (คร.2)

3.2 กรณีจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ

– สําเนาทะเบียนสมรส

– สําเนาทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว (คร.22)

* ถ้าเคยสมรสมาก่อนให้แสดงใบสําคัญการหย่า (คร.7) และทะเบียนหย่า (คร.6)

4) สําเนาบัตรประชาชนและสําเนาทะเบียนบ้าน(ของภรรยา) กรณีบิดาหรือมารดาของภรรยาเป็นคนต่างด้าว ให้แสดงสูติบัตรภรรยา, หลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่ามีสัญชาติไทยจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สําเนาเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ ใบเปลี่ยนนามสกุล ฯลฯ สําเนาสูติบัตรบุตร และทะเบียนบ้านบุตร (ถ้ามี)

5) หลักฐานแสดงฐานะของสามีตามหลักเกณฑ์ข้อ 5

5.1 กรณีทำงานในประเทศไทย

– ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว

– หนังสือรับรองจากบริษัทผู้ว่าจ้าง โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ประเภทของงานตำแหน่งตามใบอนุญาตทำงาน และเงินเดือน (เดือนละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท) ลงนามโดยผู้มีอำนาจ

– หลักฐานการชำระภาษีเงินได้รับรองโดยสรรพากร พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ภงด.1 ย้อนหลัง 3 เดือน และ ภงด.91 ในรอบปีที่ผ่านมา)

– หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท (บอจ.5) ฉบับจริง (ไม่เกิน 6 เดือน)

5.2 กรณีมีเงินฝากธนาคารในประเทศไทย (ออมทรัพย์/ประจำ)

– หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย ณ ปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท

– สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ณ วันที่ยื่นคำขอ มีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือนไม่น้อยกว่า 400,000 บาท

5.3 กรณีมีรายได้จากต่างประเทศ เช่น เงินบำนาญ ฯลฯ

– หนังสือรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุลในประเทศไทยของผู้ยื่นคำขอ แสดงการมีรายได้จากเงินบำนาญหรือรายได้อื่น เดือนละไม่น้อยกว่า 40,000 บาท

6) เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีที่พักอาศัยไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานสัญญาเช่าฯ หรือหนังสือรับรองจากเจ้าบ้าน พร้อมแนบสําเนาบัตรประชาชน และสําเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านที่เช่า หรือสําเนาแสดงกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน พร้อมสําเนาบัตรประชาชน ฯลฯ

7) รูปถ่ายครอบครัวอยู่ที่พักอาศัย 4 รูป (หน้าบ้านให้เป็นบ้านเลขที่ 2 รูป, ในบ้าน 2 รูป, แผนที่บ้าน

8) ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท

9) หลักฐานอื่น ๆ

หมายเหตุ

1)  ผู้ยื่นคําขอและคู่สมรส ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง เพื่อมาให้ปากคํา
2) ให้นําหลักฐานเอกสารตัวจริงมาแสดงทุกครั้ง และถ่ายเอกสารพร้อมรับรองสําเนาถูกต้องด้วยลายมือชื่อของผู้ยื่นคําขอ

กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร  (เฉพาะบิดา มารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
  3. กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัยและพฤตินัย
  4. กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสขออยู่ในความอุปการะบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้อง ยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์
  5. กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดานั้น ต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐาน การจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียน หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่นจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้มีถิ่นที่อยู่

กรณีเป็นครอบครัวของคนต่างด้าวที่ ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามหลักเกณฑ์ข้อ 2.1, 2.2, 2.3, 2.5, 2.6, 2.7, 2.10, 2.12, 2.13, 2.14 ,2.15, 2.16, 2.17, 2.21, 2.22, 2.26, 2.29 ของคำสั่งนี้ หรือ มาตรา 34(7) (เฉพาะบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
  3. กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย หรือ
  4. กรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขออยู่ในความ อุปการะ บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้น ต้องยังไม่ได้สมรส และอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์ หรือ
  5. กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่ ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรฯ
  4. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น
    หลักฐานการสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐาน การจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือ
    หลักฐานอื่นจากส่วนราชการหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง

กรณีมีเหตุจำเป็นจะต้องอยู่ปฏิบัติงาน ในองค์การกุศลสาธารณะ องค์การเอกชนต่างประเทศ มูลนิธิ สมาคม หอการค้า ต่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยหรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. ได้รับการรับรองและร้องขอจากผู้มีอำนาจ หรือผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในองค์กรนั้น และ / หรือ
  3. ได้รับการรับรองและร้องขอจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปหรือ หัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้งองค์กรจากทางราชการ หรือสำเนาใบอนุญาตให้เข้ามา ดำเนินการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  5. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กรนั้น
  6. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ทำงานในองค์กร
  7. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (3)ให้แนบหนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น

กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. มีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 65,000 บาท หรือ
  4. ก่อนยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 2 เดือน และหลังจากได้รับอนุญาตไม่น้อยกว่า 3 เดือน จะต้องมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 800,000 บาท โดยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว 3 เดือน สามารถถอนเงินฝากนั้นได้ โดยต้องมีเงินคงเหลือในบัญชี ไม่น้อยกว่า 400,000 บาท หรือ
  5. มีเงินได้ในรอบปีและมีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่ ในประเทศไทยคำนวณรวมกันไม่น้อย กว่า 800,000 บาท นับถึงวันยื่นคำขอ ทั้งนี้ เงินฝากธนาคารจะต้องคงอยู่ในบัญชีก่อนยื่นคำขอ และหลังได้รับอนุญาต รวมทั้งสามารถถอนเงินฝากได้เช่นเดียวกับ (4)
  6. เฉพาะคนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว(Non-Immigrant Visa) รหัส O-A ต้องมีประกันสุขภาพหรือสวัสดิการภาครัฐจากต่างประเทศที่มีวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล และมีประกันที่ครอบคลุมการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่น้อยกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 3,000,000 บาท คุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักในราชอาณาจักร
    6.1) กรณีซื้อประกันสุขภาพของไทยให้ซื้อกรมธรรม์แบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ longstay.tgia.org
    6.2) กรณีซื้อประกันสุขภาพต่างประเทศหรือมีสวัสดิการภาครัฐจากต่างประเทศต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย หรือการรับรองลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารที่มาแสดง (Notary) จากกระทรวงการต่างประเทศของผู้ยื่นคำขอ
    6.3) กรณีบริษัทประกันปฏิเสธการซื้อประกันสุขภาพทั้งหมดหรือบางส่วน ต้องมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3,000,000 บาท ก่อนยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 2 เดือน หรือมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และวงเงินประกันสุขภาพอื่นคำนวณรวมกันไม่น้อยกว่า 3,000,000 บาท สำหรับใช้ในการรักษาพยาบาลโดยต้องมีหลักฐานการปฏิเสธการซื้อประกันสุขภาพ ซึ่งรับรองโดยบริษัทประกันภัยนั้น หรือได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย หรือการรับรองลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารที่มาแสดง (Notary) จากกระทรวงการต่างประเทศของผู้ยื่นคำขอ แล้วแต่กรณี
  7. คนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 21 ตุลาคม 2541 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลายต่อเนื่องตลอดมา ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
    (ก) อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ที่แน่นอน โดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง ๓ เดือนไม่น้อยกว่าปีละ 200,000 บาทหรือมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท
    (ข) อายุไม่ถึง 60 ปีแต่ไม่น้อยกว่า 55 ปี ต้องมีรายได้ที่แน่นอนโดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 500,000 บาท หรือมีรายได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 50,000 บาท

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หลักฐานแสดงการมีเงินได้ เช่น เงินบำนาญ หรือการได้รับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เป็นต้น และ / หรือ
  4. หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และสำเนาบัญชีธนาคาร
  5. เฉพาะคนต่างด้าวตามหลักเกณฑ์การพิจารณา (6)
    5.1) กรณีซื้อประกันสุขภาพของไทยต้องมีหลักฐานแสดงการประกันภัยตามแบบที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อนุมัติ โดยสามารถตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ longstay.tgia.org
    5.2) กรณีซื้อประกันสุขภาพต่างประเทศ หรือมีสวัสดิการภาครัฐจากต่างประเทศ ต้องมีเอกสารการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย หรือหนังสือรับรองลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารที่มาแสดง (Notary) จากกระทรวงการต่างประเทศของผู้ยื่นคำขอ ตามแบบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
    5.3) กรณีบริษัทประกันภัยปฏิเสธการซื้อประกันสุขภาพทั้งหมดหรือบางส่วน
            5.3.1) หากซื้อประกันสุขภาพในประเทศไทย ต้องมีหนังสือปฏิเสธการซื้อประกันรับรองโดยบริษัทประกันภัยนั้น
            5.3.2) หากซื้อประกันสุขภาพจากต่างประเทศ ต้องมีหนังสือรับรองลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามในเอกสารที่มาแสดง (Notary) จากกระทรวงการต่างประเทศของผู้ยื่นคำขอตามแบบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  6. กรณีตามหลักเกณฑ์ ข้อ (7) ให้แสดงเอกสารเช่นเดียวกับข้อ 1 – 4 ข้างต้น

กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
  2. มีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  3. มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 65,000 บาท หรือ
  4. ณ วันยื่นคำขอมีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา / ประจำ) คงอยู่ในบัญชีตลอดระยะ เวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท เฉพาะในปีแรกให้แสดงบัญชีเงินฝากโดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือ
  5. มีเงินได้ในรอบปี และมีเงินฝากธนาคารคำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาทนับถึงวันยื่นคำขอ
  6. คนต่างด้าว ซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 21 ตุลาคม 2541 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลายต่อเนื่องตลอดมา ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
    (ก) อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ที่แน่นอน โดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอด ระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 2000,000 บาทหรือ มีรายได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 20,000บาท
    (ข) อายุไม่ถึง 60 ปี แต่ไม่น้อยกว่า 55 ปี ต้องมีรายได้ที่แน่นอนโดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือนไม่น้อยกว่าปีละ 500,000 บาท หรือ มีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 50,000 บาท

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หลักฐานแสดงการมีเงินได้ เช่น เงินบำนาญ หรือการได้รับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เป็นต้น และ / หรือ
  4. หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา / ประจำ) และสำเนาบัญชีธนาคาร
  5. เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (6) ให้แสดง เอกสารเช่นเดียวกับข้อ 1 – 4 ข้างต้น

กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรสหรือเยี่ยมบุตร ซึ่งมีสัญชาติไทย

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
  2. กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มี สัญชาติไทย
  5. สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตร

กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาล หรือ การพักฟื้น หรือเพื่อดูแลผู้ป่วย

ก. กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาลหรือการพักฟื้นหรือเพื่อดูแลผู้ป่วย

  1. ได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับอาการป่วยระยะเวลาในการรักษา และความเห็นของแพทย์ผู้รักษาว่าอาการป่วยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง
  2. กรณีดูแลผู้ป่วยต้องได้รับการรับรอง และร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา หรือจากสถานทูตหรือ สถานกงสุล
  3. ผู้ดูแลผู้ป่วย นอกจากบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสแล้ว ให้อนุญาตได้อีกไม่เกิน 1 คน

ข. กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน สำหรับคนชาติราชอาณาจักรบาร์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด

  1. ผู้รับการรักษาพยาบาลและผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ทำการตรวจรักษา และออกโดยกระทรวงสาธารณสุข
  2. ผู้ดูแลผู้ป่วย ได้แก่ บิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุคคลอื่นตามเอกสารแสดงรายชื่อที่ผู้รับการรักษาพยาบาลลงลายชื่อรับรองเอกสาร จำนวนไม่เกิน 4 คน

เอกสารประกอบที่ต้องใช้
ก. กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาลหรือการพักฟื้นหรือเพื่อดูแลผู้ป่วย

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา
  4. เฉพาะกรณีดูแลผู้ป่วยให้แนบหนังสือรับรอง และขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา และเอกสารแสดง ความสัมพันธ์ (กรณีผู้ดูแลซึ่งเป็นส่วนแห่ง ครัวเรือน) เช่น หลักฐานการสมรส สำเนา สูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น โดยได้รับการรับรองจากสถานทูต หรือสถาน กงสุล

เอกสารประกอบที่ต้องใช้
ข. กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน สำหรับคนชาติราชอาณาจักรบาร์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองหรือร้องขอจากสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ทำการตรวจรักษา หรือจากกระทรวงสาธารณสุข
  4. ผู้รับการรักษาพยาบาล ให้แนบเอกสารเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ออกโดยสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ได้รับการตรวจสอบโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ เอกสารการนัดหมายเข้ารับการรักษาพยาบาล เอกสารการรับรองการรักษาพยาบาลของแพทย์ เอกสารยืนยันการเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือเอกสารทางการแพทย์ประเภทอื่น
  5. ผู้ดูแลผู้ป่วย กรณีที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรม ให้แนบเอกสารแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาสูติบัตร สำเนาใบรับรองบุตร หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์จากผู้รับการรักษาพยาบาลในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สำหรับบุคคลอื่นนอกเหนือจากบิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือบุตรบุญธรรมให้แนบสัญญาจ้าง หรือหนังสือรับรองจากผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยทั้งสองกรณีต้องแนบเอกสารแสดงรายชื่อผู้ดูแลแลผู้ป่วย ซึ่งผู้รับการรักษาพยาบาลลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร
    ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวข้างต้น ต้องรับรองโดยสถานทูตหรือหน่วยงานราชการของประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC : Gulf Cooperation Council) (ตามแบบฟอร์มเอกสารหนังสือรับรองความเป็นญาติและผู้ติดตามของผู้รับบริการรักษาพยาบาล – Affidavit of Support) โดยแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

กรณีเพื่อการดำเนินคดีหรือดำเนิน กระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี

หลักเกณฑ์การพิจารณา

มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี โดยเป็นผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์จำเลย หรือพยาน

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองจากพนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องกับคดีหรือหนังสือหรือเอกสารทาง
    ราชการที่ยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอัน เกี่ยวกับคดี

กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจให้แก่ ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานทูต หรือ สถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศ

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. ได้รับการรับรองและร้องขอจากส่วน ราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า หรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับกองบังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือจากส่วน ราชการทหารระดับผู้บังคับหน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหมกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ซึ่งมี ชั้นยศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ขึ้นไป ในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือจากองค์การระหว่างประเทศ
  2. กรณีมีเหตุผลความจำเป็นเฉพาะรายต้อง อยู่เกินกำหนด 90 วัน ให้เสนอ ผบช. สตม. หรือ รอง ผบช.สตม.ที่ได้รับมอบหมายเป็น ผู้พิจารณา

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากส่วน ราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า หรือหัวหน้ารัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐที่ เกี่ยวข้อง หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับกองบังคับการ หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือจากส่วนราชการทหารระดับผู้บังคับหน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศซึ่งมีชั้นยศ พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรีขึ้นไป ในส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง หรือจากองค์การระหว่างประเทศ

กรณีมีเหตุจำเป็นโดยมีสถานทูต หรือ สถานกงสุล ให้การรับรองและร้องขอ

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. ได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานทูต หรือสถานกงสุล
  2. กรณีฝึกงานคนต่างด้าวนั้นต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากสถานทูต หรือสถานกงสุลประจำประเทศไทย
  4. เฉพาะกรณีฝึกงาน ให้แนบสำเนาใบอนุญาตทำงาน

กรณีเพื่อพิสูจน์สัญชาติ

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. ได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

กรณีเป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี ผู้ควบคุมการแสดง ตลอดจนผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแสดงเพื่อการบันเทิง หรือ มหรสพ โดยมาเปิดการแสดงเป็นครั้งคราว

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. ได้รับการรับรองและร้องขอจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง

กรณีเป็นผู้ควบคุมพาหนะและ คนประจำพาหนะที่เข้ามายังท่าสถานี หรือท้องที่ในราชอาณาจักรและยังไม่สามารถ เดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้

หลักเกณฑ์การพิจารณา

  1. ให้พิจารณาจากเหตุผลความจำเป็นที่ไม่สามารถเดินทางออกได้

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบคำขอ ตม.7
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
  3. หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากองค์กร หรือหน่วยงานราชการหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง

กรณี B.O.I. , การนิคมฯ , กรมเชื้อเพลิง , รับรอง

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบฟอร์ม ตม.7 ( ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท)
  2. แบบฟอร์ม ตม.8 ( ค่าธรรมเนียม S= 1,000 บาท, M=3,800 บาท )
  3. รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป
  4. หนังสือรับรองจาก B.O.I., การนิคมอุตสาหกรรม, กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
  5. สำเนาหนังสือเดินทาง พร้อมหนังสือเดินทางฉบับจริง
    –ใช้หน้าที่มีรูปถ่าย
    – หน้าวีซ่า Non ครั้งแรก
    – การเดินทางครั้งแรกของ Non
    – หน้าวีซ่า ที่ได้รับการอนุญาตครั้งสุดท้าย
    – หน้า Re-Entry สุดท้าย
    – หน้าการเดินทางเข้าประเทศครั้งสุดท้าย
    – บัตร ตม.6
  6. แบบฟอร์ม สตม.2 ( การรับทราบเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร )

หมายเหตุ

ติดต่อที กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 เลขที่ 319 ถ.พญาไท
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร. 0-22090–1100 ต่อ 1016

กรณีเข้ามาประจำสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ และสำนักงานสาขา

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบฟอร์ม ตม.7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป
  2. สำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาใบอนุญาตทำงาน
  3. หนังสือชี้แจงตำแหน่งของคนต่างด้าวที่ปฏิบัติงานในบริษัท โดยให้ระบุ
    – ลักษณะธุรกิจ
    – เหตุผลความจำเป็นในการจ้าง ระบุตำแหน่ง อัตราเงินเดือน คุณวุฒิ
    – จำนวนพนักงานคนไทยและคนต่างด้าวที่มาปฏิบัติงานในบริษัท
  4. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ และหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ
  5. หลักฐานการนำเงินเข้ามาในราชอาณาจักรตามเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
  6. หนังสือแต่งตั้งจากสำนักงานใหญ่ ( Power of Attorney )
  7. รายการภาษีเงินได้ของคนต่างด้าวและพนักงานคนไทย (ภ.ง.ด.1 ) เดือนล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  8. รายการภาษีเงินได้ของคนต่างด้าว ( ภ.ง.ด.91 ) ปีล่าสุด พร้อมใบเสร็จรับเงิน
  9. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเสริมเงินสบทบตามที่ได้ยื่นไว่ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส.1-10 ) เดือนล่าสุด
  10. แผนที่แสดงที่ตั้งของสำนักงาน
  11. กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานความเป็นครอบครัว เช่น ใบทะเบียนสมรส ใบสูติบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถานทูต
  12. หนังสือรับทราบเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ต่อในองค์กร

หมายเหตุ

ติดต่อที กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 เลขที่ 319 ถ.พญาไท
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร. 0-22090–1100 ต่อ 1016

กรณีปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน โดยได้รับการอนุญาตจากทางราชการ

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบฟอร์ม ตม.7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป
  2. แบบฟอร์ม ตม.8 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป
  3. สำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. หนังสือรับรองจากกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระดับกรม หรือ เทียบเท่า

หมายเหตุ

ติดต่อที กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 เลขที่ 319 ถ.พญาไท
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร. 0-22090–1100 ต่อ 1016

กรณีติดตามครอบครัว

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบฟอร์ม ตม.7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นขออยู่ต่อ
  3. สำเนาหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร
  4. สำเนาเอกสารแสดงความสัมพันธ์กัน เช่น หลักฐานการจดทะเบียนสมรส สำเนาสูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่นจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ

ติดต่อที กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 เลขที่ 319 ถ.พญาไท
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร. 0-22090–1100 ต่อ 1016

กรณีเพื่อธุรกิจ/สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค ( ปีแรก/ปีถัดไป )

เอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. แบบฟอร์ม ตม.7 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป (ผู้ขอ,ผู้ติดตามตามลำดับ (ถ้ามี) )
  2. แบบฟอร์ม ตม.8 พร้อมรูปถ่ายขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป (ผู้ขอ,ผู้ติดตามตามลำดับ (ถ้ามี) )
  3. สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นขออยู่ต่อ
  4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  5. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวทุกคนในบริษัท
  6. แผนภูมิแสดงตำแหน่งงาน
  7. หนังสือรับรองคนต่างด้าวเข้าทำงานตามแบบคำขอของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง(สตม.1)/หนังสือชี้แจงต่าง ๆ/ประกาศรับสมัครพนักงานคนไทย
  8. สำเนางบดุล และงบกำไรขาดทุน ปีล่าสุด (พร้อมฉบับจริง)
  9. สำเนาแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ที่มีชื่อพนักงานคนไทย และชื่อคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอและสำเนาใบเสร็จรับเงินเดือนล่าสุด พร้อมแสดงใบเสร็จรับเงินฉบับจริง
  10. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ส่วนบุคคลธรรมดาของคนต่างด้าวผู้ยื่นคำขอ (ภ.ง.ด.91) และสำเนาใบเสร็จรับเงิน  พร้อมแสดงใบเสร็จรับเงินฉบับจริง
  11. สำเนาแบบรายการแสดงการส่งเสริมเงินสบทบตามที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงานประกันสังคม ( สปส.1-10 ) และสำเนาใบเสร็จรับเงิน เดือนล่าสุด พร้อมแสดงใบเสร็จรับเงินฉบับจริง
  12. หลักฐานการจดทะเบียนขององค์กรนั้น เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท (ฉบับจริง) หรือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฉบับนายทะเบียน (ฉบับจริง) รับรองไม่เกิน 6 เดือน
  13. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน (บอจ.5) (ฉบับจริง)
  14. กรณีมีครอบครัวติดตามมาอยู่ด้วย ให้แสดงหลักฐานความเป็นครอบครัว เช่น ใบทะเบียนสมรส ใบสูติบัตร หรือหนังสือรับรองจากสถานทูต (ฉบับจริง)
  15. แผนที่แสดงสถานที่ทำงานของผู้ยื่นคำขอ
  16. รูปถ่ายของบริษัทฯ ภายในบริษัทฯ ในรูปถ่ายต้องมีพนักงานนั่งปฏิบัติงาน จำนวน 4 รูป และภายนอกบริษัทฯ ต้องมีป้ายชื่อบริษัทฯ และสถานที่ตั้ง ของบริษัทฯ จำนวน 2 รูป
  17. เอกสารหรือหลักฐานอื่น ตามที่คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของ สตม.กำหนด (แบบ สตม.2)

หมายเหตุ

ติดต่อที กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1
อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 18 เลขที่ 319 ถ.พญาไท
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร. 0-22090–1100 ต่อ 1016

เอกสารประกอบที่ต้องใช้ (กรณีได้รับการตรวจลงตราจากสถานทูต หรือกงสุลไทยในต่างประเทศ)

  1. ยื่นแบบคำขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (ตม.7) พร้อมติดรูปถ่าย
  2. แบบหนังสือรับทราบเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร (สตม.2)
  3. สำเนาหนังสือเดินทาง, หน้าแผ่นปะตรวจลงตราจากสถานทูต (Special Tourist Visa (STV)), ตราประทับขาเข้าล่าสุด, บัตร ตม.6 (ขาออก)
  4. หนังสือรับรองผ่านการกักตัว (ASQ) จากกรมควบคุมโรค พร้อมหลักฐานการชำระเงิน (ใบเสร็จรับเงิน) ค่าโรงแรมที่พักที่เป็นสถานที่กักตัวไม่น้อยกว่า 14 วัน
  5. หลักฐานสถานที่พักอาศัยหลังออกจากสถานกักกัน เช่น หลักฐานการชำระเงินค่าโรงแรม หรือหลักฐานสำเนาโฉนดห้องชุดของที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคนต่างด้าวหรือครอบครัวคนต่างด้าว หรือหลักฐานการเช่าที่พักประเภทคอนโดมิเนียมหรือบ้านพัก หรือหลักฐานการชำระเงินการซื้อหรือเช่าซื้อที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียมที่คนต่างด้าวสามารถซื้อได้ตามกฎหมาย
  6. หลักฐานกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่คุ้มครองการตรวจรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในวงเงิน 100,000 USD ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในประเทศไทย
  7. หลักฐานการทำประกันสุขภาพและอุบัติเหตุของไทย คุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักในราชอาณาจักร กรณีผู้ป่วยนอกไม่น้อยกว่า 40,000 บาท และผู้ป่วยในไม่น้อยกว่า 400,000 บาท

เอกสารประกอบที่ต้องใช้ (กรณีได้รับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางการตรวจอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองโดยเรือสำราญและกีฬา (เรือยอชท์))

  1. ยื่นแบบคำขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (ตม.7) พร้อมติดรูปถ่าย
  2. แบบหนังสือรับทราบเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักร (สตม.2)
  3. สำเนาหนังสือเดินทาง, หน้าแผ่นปะตรวจลงตราจากสถานทูต (Special Tourist Visa (STV)), ตราประทับขาเข้าล่าสุด, บัตร ตม.6 (ขาออก)
  4. หลักฐานกรมธรรม์ประกันสุขภาพที่คุ้มครองการตรวจรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ในวงเงิน 100,000 USD ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในประเทศไทย
  5. หลักฐานการทำประกันสุขภาพและอุบัติเหตุของไทย คุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักในราชอาณาจักร กรณีผู้ป่วยนอกไม่น้อยกว่า 40,000 บาท และผู้ป่วยในไม่น้อยกว่า 400,000 บาท
  6. หลักฐานการชำระเงินล่วงหน้าในการเช่าจองสถานที่จอดเรือ

หมายเหตุ

  • อนุญาตให้อยู่ต่อไปอีก 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
  • คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป จะไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อในราชอาณาจักรสำหรับกรณีนี้

1. คนต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิหลัก รหัสกำกับ LTR Visa

1.1  LTR  “W”
1.2  LTR  “P”
1.3  LTR  “T”
1.4  LTR  “H”

รายการเอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ พร้อมสำเนา
  2. หนังสือรับรองคุณสมบัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยหนังสือรับรองจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 วัน นับจากวันที่ออกหนังสือรับรอง
  3. แบบรับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พำนักระยะยาว (LTR Visa) (สตม. 8)

2. คนต่างด้าวผู้ได้รับสิทธิติดตาม LTR Visa รหัสกำกับ LTR “O”

รายการเอกสารประกอบที่ต้องใช้

  1. หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ พร้อมสำเนา
  2. หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของผู้ได้รับสิทธิ์หลักที่ได้รับอนุญาต ให้ขยายระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว พร้อมสำเนา
  3. สำเนาหลักฐานแสดงความสัมพันธ์ เช่น หลักฐานการสมรส หลักฐานสำเนาสูติบัตรการจดทะเบียนรับรองบุตร สำเนาทะเบียนบ้าน หรือหลักฐานการรับรองบุตรบุญธรรม หรือหลักฐานอื่นจากส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  4. หนังสือรับรองคุณสมบัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยหนังสือรับรองจะต้องมีอายุไม่เกิน 60 วันนับจากวันที่ออกหนังสือรับรอง
  5. แบบรับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พำนักระยะยาว (LTR Visa) (สตม. 8)